Banner
Banner
Banner
Banner
previous arrowprevious arrow
next arrownext arrow
Shadow

Information

Aluminium vs Copper สำหรับการผลิตในหม้อแปลงไฟฟ้า

Historical Preference

แรกเริ่ม หม้อแปลงไฟฟ้าได้ถูกผลิตด้วยลวดตัวนำทองแดง, เนื่องจากทองแดงสามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่า และเป็นโลหะที่มีราคาถูกที่สุด ณ เวลานั้น จึงเป็นผลทำให้ทองแดงขาดแคลนอย่างหนักโดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

     ในปี ค.ศ. 1960 จากความต้องการของทองแดงในตลาดที่สูงขึ้น ทำให้ราคาทองแดง ณ ขณะนั้น มีราคาสูงมาก โรงงานอุตสาหกรรมบางโรงงาน จึงเริ่มทำการทดลองผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าด้วยลวดอลูมิเนียมแทน เทคโนโลยีการใช้ลวดอลูมิเนียมในหม้อแปลงไฟฟ้าจึงได้ถูกนำมาทดลองปัญหาทางด้านเทคนิคต่างๆ จนปัญหาต่างๆเหล่านั้นหมดไป

     ความน่าเชื่อถือสำหรับการใช้ขดลวดอลูมิเนียมในหม้อแปลง จึงได้รับการพิสูจน์และถูกเปิดเผย จากผลการทดลองที่ได้รับการยอมรับเหล่านี้ ทำให้มีการใช้ขดลวดอลูมิเนียมกันอย่างแพร่หลายในประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 เป็นต้นมา เทคโนโลยีการใช้อลูมิเนียมในหม้อแปลงไฟฟ้า จึงเป็นที่ยอมรับทั่วทั้งยุโรป

Technical Considerations

1. การออกแบบทั่วไปและคุณลักษณะทางไฟฟ้า (General Design and Electrical Characteristics)

  • ปริมาตรอลูมิเนียม = 1.8 เท่าของปริมาตรทองแดง
  • มวลอลูมิเนียม = 0.55 เท่าของมวลทองแดง
  • มวลของเหล็กสำหรับอลูมิเนียม มีขนาดเพิ่มขึ้น = 5-20% ต่อมวลของเหล็กที่ใช้ทองแดง
  • ปริมาตรรวมของหม้อแปลงอลูมิเนียมเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
  • มวลรวมของหม้อแปลงมีค่าใกล้เคียงกัน

2.   ผลกระทบของคุณสมบัติทางความร้อน (Effect of thermal properties)

  • จากปริมาตรอลูมิเนียม มีค่าประมาณ 1.8เท่าของปริมาตรทองแดง พื้นผิวของอลูมิเนียมที่เป็น 1.3เท่าของทองแดง, ดังนั้น ที่ค่าความสูญเสียที่เท่ากัน, อัตราการเพิ่ม-ลดของอุณหภูมิของอลูมิเนียม (Aluminium-oil temperature gradient)จะน้อยกว่าทองแดง
  • ในช่วงของการเกิด Short circuit หรือเกิดการ Overload, อุณหภูมิสูงสุดของขดลวดจะขึ้นอยู่กับความจุความร้อน(Specific heat) ของตัวนำไฟฟ้าและมวล ซึ่งค่าความจุความร้อนของอลูมิเนียมมีค่ามากกว่าทองแดง 2.43 เท่า รวมถึงมวลของอลูมิเนียมที่มีค่าน้อยกว่าทองแดงอยู่ 0.55 เท่า

จากปัจจัยข้างต้น จะสามารถคำนวณ Temperature rise ภายในขดลวดได้ ซึ่งค่า Temp-rise ของอลูมิเนียม มีค่าเพียง 75% ของทองแดง จึงส่งผลให้อายุการใช้งานของฉนวน มีอายุการใช้งานที่นานขึ้น

ผลกระทบของค่าความต้านทานไฟฟ้าต่อกระแสไหลวน (Eddy losses)

  • ค่าความลึกของผิวทองแดง ที่ 50 Hz = 9.4 mm , ขณะที่อลูมิเนียมอยู่ที่ 12.3 mm
  • จากความแตกต่างของคุณสมบัติทางวัสดุ, ค่า Eddy loss ในลวดอลูมิเนียมมีค่าน้อยกว่าลวดทองแดง 38%
Physical Property Cu Al
Conductivity 100% 62%
Skin Depth 100% 127%
Eddy losses 100% 62%

กระแสไหลวนเนื่องจากค่าฮาร์มอนิคส์

  • โหลดปัจจุบันมีคุณสมบัติไม่เป็นเชิงเส้น (Non-linear load) ทำให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลในระบบ มีส่วนประกอบของกระแสฮาร์มอนิคส์ (Harmonic Current) ในปริมาณมาก
  • ซึ่งปัญหาต่างๆที่เกิดจากกระแสฮาร์มอนิคส์มากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การ Overheating และ Vibration ในมอเตอร์เหนี่ยวนำ (Induction motors)
  • ซึ่งเป็นผลทำให้ค่า Winding Eddy current (Stray Load Loss) เพิ่ม (Eddy losses ลดลงประมาณ 38% ในกรณีของอลูมิเนียม!!

3. ผลกระทบของคุณสมบัติทางกล (Effect of mechanical properties)

  • ความทนต่อแรงดึง และ ความเค้นสูงสุดที่ได้รับ ของโลหะบริสุทธ์ทองแดงและอลูมิเนียม มีอัตราส่วนที่ 2:1 ซึ่งเป็นการบ่งชี้ว่าค่า Tensile strength ของอลูมิเนียม มีค่าที่ใกล้เคียงทองแดง อย่างไรก็ตาม จากความแตกต่างนี้สามารถชดเชยได้ด้วยการเพิ่มปริมาตรของอลูมิเนียม

ข้อดี & ข้อเสีย ของอลูมิเนียมและทองแดง

ข้อดีของขดลวดอลูมิเนียม

  • ราคาอลูมิเนียมถูกกว่าทองแดงและนำมาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน
  • อลูมิเนียมมีชั้นของออกไซด์ที่บางบนพื้นผิว ซึ่งช่วยหยุดไม่ให้อากาศและน้ำเข้าไปที่เนื้อโลหะและทนทานต่อการกัดกร่อน
  • ถึงแม้ว่าการค่านำไฟฟ้าของทองแดงดีกว่า แต่ถ้าเทียบที่น้ำหนักเท่ากัน อลูมิเนียมมีค่าการนำไฟฟ้าที่ดีกว่า ถึงเกือบ 2 เท่า
  • คอยล์อลูมิเนียมมีน้ำหนักเบาซึ่งทำให้ง่ายต่อการเคลื่อนย้ายและลดระยะเวลาการผลิต (ถึง400 KVA)
  • มีค่าความต้านทานสูงทำให้ค่า Eddy losses ในขดลวดต่ำ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงสำหรับอุณหภูมิ ณ จุด Hot-spot รวมถึง Harmonic current

ข้อเสียของขดลวดอลูมิเนียม

  • คอยล์อลูมิเนียมมีขนาดใหญ่กว่าคอยล์ทองแดง ซึ่งต้องออกแบบขนาด Cross Section ใหญ่กว่าทองแดงประมาณ1.8เท่า เพื่อที่ค่ากระแสต่อพื้นที่หน้าตัดของจะได้เทียบเท่าทองแดง
  • กระบวนการต่อสาย, เชื่อม, เก็บงาน มีความซับซ้อนและต้องใช้ความชำนาญ,เทคนิคสูง

ข้อดีของขดลวดทองแดง

  • ง่ายต่อการผลิตในแง่ของการต่อสายเชื่อมต่างๆ
  • จากการนำไฟฟ้าได้ดีกว่าทำให้ขนาดหม้อแปลงโดยรวมกระชับกว่าซึ่งสามารถลดต้นทุนการใช้แกนเหล็ก, น้ำมันได้

ข้อเสียของขดลวดทองแดง

  • ราคาหม้อแปลงโดยรวมมีราคาสูง
  • ความต้านทานการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นต่ำ
  • คอยล์มีน้ำหนักมาก ทำให้ยากต่อการขนย้าย

มุมมองด้านเทคโนโลยี
     อลูมิเนียมที่ถูกใช้ภายนอกชั้นบรรยากาศ จะมีปัญหาอย่างมากเกี่ยวกับการเชื่อม, จุดต่อสายด้วยอลูมิเนียม-อลูมิเนียม หรือ อลูมิเนียม-ทองแดง ด้วยประสบการณ์ไม่ต่ำกว่า 12 ปี สำหรับการใช้หม้อแปลงอลูมิเนียมในหม้อแปลงไฟฟ้า, Know-How และ เทคนิคต่างๆรวมถึงการทดสอบที่เข้มงวดของเรา ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้ว ณ ขณะนี้  ปัญหาทางด้านเทคนิคต่างๆเหล่านั้น จึงหมดไป

สรุป

บริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด (มหาชน) ได้มีการนำเสนอทางเลือกในการใช้ขดลวดทั้งทองแดงและอลูมิเนียมในการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้า จากประสบการณ์ในการผลิตและจำหน่ายหม้อแปลงที่ใช้ขดลวดอลูมิเนียมทั้งภายในประเทศและต่างประเทศมาไม่ต่ำกว่า 12 ปี โดยมีการปรับปรุงและพัฒนากระบวณการผลิตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเทคโนโลยีในการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าของเรา จึงสามารถยืนยันได้ว่าหม้อแปลงอลูมิเนียมนั้น มีคุณภาพและประสิทธิภาพที่สูงไม่น้อยไปกว่าทองแดง รวมถึงได้รับประโยชน์จากราคาที่ถูกลง อย่างไรก็ตามบริษัทของเราก็ตระหนักถึงความต้องการของผู้ใช้งานเป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยในปัจจุบัน ผู้ใช้งานส่วนใหญ่ยังคงมีความพึงพอใจในทองแดงมากกว่าอลูมิเนียม จึงอยากขอเชิญชวนผู้ใช้งานให้หันมาใช้หม้อแปลงที่ใช้ขดลวดอลูมิเนียมเพื่อให้เกิดความแพร่หลายและเป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้ใช้งาน โดยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับการใช้งานในรูปแบบต่างๆ

สีของหม้อแปลง และ Enclosure

นอกจากสีมาตรฐานของการไฟฟ้า PEA MEA และมาตรฐานของทางบริษัท เราสามารถให้ลูกค้าเลือกสีได้ตามใจคุณต้องการ เพื่อเพิ่มความสวยงามและทันสมัยให้กับสถานที่ติดตั่งหรือหน่วยงานที่ต้องการความทันสมัยและแปลกใหม่

หน้าที่ของสีแต่ละชั้น

พื้นผิวโลหะ

     ต้องมีการเตรียมพื้นผิวที่เหมาะสม เพื่อให้ชิ้นงานมีความสะอาดเพียงพอต่อการเคลือบสี อีกทั้งยังช่วยเพิ่มโปรไฟล์ของพื้นผิวเหล็กซึ่งจะช่วยเพิ่มการยึดเกาะของสี ทำให้ไม่เกิดการหลุดล่อนได้ง่าย เเละยังยืดอายุการใช้งานได้ยาวนานยิ่งขึ้น

สีรองพื้น

  • ยึดเกาะพื้นผิวดี
  • ยึดเกาะกับชั้นต่อไปได้ดี
  • ป้องกันสนิม

สีชั้นกลาง

  • ตัวเชื่อมการยึดเกาะระหว่าง สีรองพื้น และสีทับหน้า
  • ป้องกันความชื้น และออกซิเจน
  • เพิ่มความหนารวมของฟิล์มสี

สีทับหน้า

  • ป้องกันมลพิษ,สภาพอากาศจากภายนอก
  • ป้องกันสารเคมี,แรงกระแทก
  • ให้ความสวยงาม 

 หน้าที่ของสีแต่ละประเภท

Water Base

สีแห้งเร็วสูตรน้ำที่ทำมาจากอะครีลิค ลาเทกซ์ มีคุณสมบัติเทียบเท่าสีน้ำมัน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Epoxy

สีรองพื้นอีพ็อกซี แห้งด้วยการทาปฏิกิริยากับสารเร่งแข็งประเภทโพลีเอไมด์ มีส่วนผสมของผงสีเหล็กอ็อกไซด์เพื่อป้องกันสนิม เป็นสีรองพื้นที่เหมาะกับพื้นผิวเหล็กที่ผ่านการเตรียมผิวโดยวิธีพ่น (Blast cleaning)

Polyurethane

สีทับหน้าโพลียูรีเทนชนิด 2 องค์ประกอบ ให้ความเงาสูงและสีไม่ซีดจางง่าย นอกจากนี้ยังมีความทนทานต่อตัวทาละลายต่างๆ, กรด, ด่าง, น้ำมัน, น้ำทะเลและการขูดขีดหรือเสียดสี สามารถใช้เคลือบได้บนพื้นผิวหลายชนิด เช่น ซีเมนต์, ปูนฉาบ, คอนกรีต, เหล็ก และอลูมิเนียม

Harmonic และ K – Factor

     ก่อนที่เราจะทำความรู้จักหม้อแปลง k – factor นั้น เราจะมารู้ข้อมูลเบื้องต้นของตัวการที่จะทำให้เกิดหม้อแปลง k – factor ขึ้นมา นั่นคือ “ฮาร์มอนิกส์”

     ฮาร์มอนิกส์  คือ ส่วนประกอบในรูปสัญญาณคลื่นไซน์ (Sine wave) ของสัญญาณหรือปริมาณไฟฟ้า เป็นความถี่ใดๆซึ่งมีความถี่เป็นจำนวนเต็มเท่าของความถี่มูลฐาน (Fundamental Frequency ในระบบไฟฟ้าประเทศไทยมีค่าเท่ากับ 50 Hz) เช่น 150Hz,250Hz เป็นต้น ซึ่งการเกิดฮาร์มอนิกส์มักเกิดจากการทำงานของโหลดที่มีลักษณะไม่เป็นเชิงเส้น (Nonlinear Load) โดยเมื่อ ฮาร์มอนิกส์ เกิดขึ้นจากโหลดที่มีลักษณะไม่เป็นเชิงเส้น ฮาร์มอนิกส์จะไปรวมกับสัญญาณคลื่นไซน์ความถี่มูลฐาน ทำให้สัญญาณคลื่นไซน์มีลักษณะผิดเพี้ยนไป

 ตัวอย่างของอุปกรณ์ไฟฟ้าพื้นฐานทั่วไปที่สามารถสร้างฮาร์มอนิกส์ได้

      ผลกระทบของฮาร์มอนิกส์ต่อหม้อแปลง

เมื่อกระแสโหลดที่มีฮาร์มอนิก  ทำให้ความสูญเสียเพิ่มขึ้นเนื่องจาก  eddy current ในตัวนำขดลวดและส่วนของโลหะอื่น จะเพิ่มอุณหภูมิของส่วนเหล่านั้นให้สูงกว่าอุณหภูมิทำงานปกติภายใต้พิกัดปกติ จากประสบการณ์แสดงให้เห็นว่าตัวนำขดลวดเป็นส่วนวิกฤตมากสุด สำหรับการพิจารณาการยอมรับอุณหภูมิทำงานดังนั้นจึงควรป้องกันความสูญเสียในขดลวดเนื่องจากกระแสโหลดฮาร์มอนิกที่เกินจากความสูญเสียจากการทำงานปกติที่พิกัด 50-60 Hz

K – factor 

K-factor คือ อัตราการเกิดความร้อนขึ้นภายในหม้อแปลงเนื่องจากกระแส  Harmonic  สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมตามมาตรฐาน ANSI/IEEE C.57.110

ตัวอย่างโหลดของการใช้งานที่ต้องใช้หม้อแปลง k – factor

LOW LOSS TRANSFORMER

          หม้อแปลงความสูญเสียต่ำ (Low Loss Transformer)  หมายถึง  หม้อแปลงที่มีค่าความสูญเสียของหม้อแปลงต่ำกว่าหม้อแปลงทั่วไป  ทำให้ประสิทธิภาพของหม้อแปลงมีค่ามากขึ้น

โครงสร้างหม้อแปลงไฟฟ้า

ความสูญเสียในหม้อแปลงไฟฟ้า (Losses)

ความสูญเสียในหม้อแปลงไฟฟ้าประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลัก คือ

  1. Core Loss (No load loss) ; Watt  เกิดจากการเปลี่ยนแปลงเส้นแรงแม่เหล็กในแกนเหล็ก แบ่งเป็น 2 ชนิด เนื่องจากกระแสไหลวน (Eddy current loss)  และ เนื่องจากเส้นแรงแม่เหล็กค้าง (Hysteresis loss)

          ความสูญเสียนี้ คือค่าไฟฟ้าที่ผู้ใช้งานต้องจ่ายตลอดเวลา ไม่ว่าจะมีโหลดหรือไม่ก็ตาม

  1. Copper Loss (Load loss) ; Watt  เกิดจากความสูญเสีย เนื่องจากกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ขดลวดแรงสูง และขดลวดแรงต่ำ หรือเรียกว่า I2R Loss และความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากองค์ประกอบอื่นๆ เช่น ตัวถัง แคลมป์ เป็นต้น โดยจะเรียกว่า (Stray Loss)

          ความสูญเสียนี้ คือค่าไฟฟ้าที่ผู้ใช้งานต้องจ่ายเมื่อมีการใช้ไฟจากหม้อแปลง

ตารางประสิทธิภาพของหม้อแปลงทั่วไป

ตารางประสิทธิภาพของหม้อแปลงความสูญเสียต่ำ

 การเปรียบเทียบหม้อแปลงทั่วไปกับหม้อแปลงความสูญเสียต่ำ

            ตัวอย่างหม้อแปลงขนาด 2000 KVA ระบบไฟ 22000 – 400/230 V

 

 Hottest spot temperature and transformer life .According to IEC 600767 at ambient temperature 35 C at 100% load

ข้อดีของหม้อแปลงความสูญเสียต่ำ

  • ประหยัดพลังงาน ลดภาวะโลกร้อน
  • ระยะเวลาคืนทุนใช้เวลาไม่นาน
  • ประสิทธิภาพหม้อแปลงเพิ่มขึ้น
  • เพิ่มอายุการใช้งานหม้อแปลง

ODAF Transformer

รูปแบบการระบายความร้อนของอนาคต ในหม้อแปลง distribution

     รูปแบบการระบายความร้อนนั้นตามมาตรฐาน IEC 60076-2:2011 ซึ่งหม้อแปลงแต่ละเครื่องจะถูกระบุวิธีการระบายความร้อนตามความต้องการของลูกค้า สำหรับหม้อแปลง liquid – immersed นั้นจะถูกระบุด้วยรหัสตัวอักษร 4 ตัว

โดย 2 ตัวแรกจะระบุเป็นภายในหม้อแปลง

 อักษร 2 ตัวหลังจะบอกถึงรูปแบบการระบายความร้อนภายนอก

       การระบายความร้อนของหม้อแปลงด้วยน้ำมัน โดยใช้ปั๊มเป็นตัวบังคับให้น้ำมันไหลผ่านชุดขดลวดภายในหม้อแปลงไปสู่ผนังตัวถังได้เร็วขึ้นกว่าหม้อแปลงปกติ(ONAN) ทำให้การระบายความร้อนในชุดขดลวดภายในหม้อแปลง (Winding Temperature) ดีขึ้น และความร้อนของน้ำมันหม้อแปลงที่ถูกถ่ายเทมาที่ผิวตัวถังและชุดครีบตัวถัง จะมีพัดลมระบายความร้อนติดอยู่ที่ชุดครีบตัวถังช่วยให้การระบายความร้อนอุณหภูมิของน้ำมันหม้อแปลง(OIL Temperature) ดีขึ้น เหมาะสำหรับหม้อแปลงตั้งแต่ 0 – 500 MVA สามารถใช้กับโหลดได้ทุกชนิด และลดขนาดหม้อแปลงลงประมาน 10 – 20%

รูปแบบอย่างง่ายสำหรับการทำงานการระบายความร้อนของหม้อแปลงแบบ ODAF

 ข้อดีข้อหม้อแปลงที่ใช้วิธีการระบายความร้อนแบบ  ODAF

  • ระบายความร้อนได้ดีกว่า ONAN ซึ่งเป็นการระบายความร้อนแบบปกติ
  • เนื่องจากน้ำมันไหลผ่านชุดขดลวด โดยตรงยืดอายุของฉนวนหม้อแปลง
  • หม้อแปลงมีขนาดเล็กลง
  • ภาพสูงขึ้นเหมาะสำหรับหม้อแปลง FIX DIMENSION แทนที่เดิมสามารถ UP CAPACITY ได้ (40-50%) เหมาะสำหรับหม้อแปลง K-FACTOR

Phase-Shift Transformer

      หม้อแปลง Phase shift คือ หม้อแปลงแบบพิเศษที่สามารถลดผลกระทบของฮาร์มอนิกส์ที่มีอยู่ในอุปกรณ์ควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์ (VSD) ในระบบไฟฟ้าทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวน Pulse ของ VSD

ตัวอย่าง Vector Diagram ของ หม้อแปลง PhaseShift

      การใช้อุปกรณ์ควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์ (VSD) มีประโยชน์มากมายหลายอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ElectricSubmersible Pump (ESP) หรือที่เรารู้จักในชื่อ ปั๊มจุ่มและปั๊มแช่ ซึ่งนำไปสู่การเติบโตอย่างก้าวกระโดดสำหรับการใช้อุปกรณ์ต่างๆในด้านการผลิตแต่การใช้ VSD ทำให้เกิดปัญหาบางอย่างเมื่อเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าเนื่องจากความจริงที่ว่า VSD เป็นโหลดไม่เชิงเส้น ( nonlinear loads )ส่งผลกระทบต่อคลื่นรูปซายน์(sine wave)ของกระแสไฟฟ้า ทำให้เกิดกระแสฮาร์มอนิกในระบบไฟฟ้า ส่งผลให้อุปกรณ์ในระบบเสียหาย

     หม้อแปลง Phase shift เป็นการออกแบบหม้อแปลงแบบพิเศษที่สามารถลดผลกระทบของอุปกรณ์ควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์ (VSD)ต่อระบบไฟฟ้าโดยช่วยลดฮาร์มอนิกในระบบไฟฟ้าทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวน Pulse ของ VSD ฮาร์มอนิกอาจลดลงได้โดยการเพิ่มจำนวน rectifer ที่ใช้ใน VSD เช่น 12 pulse converter มี 2 rectifier ซึ่งจะมีมุมองศาของแรงต่ำต่างกัน 30 องศา , 18 pulse converter มี 3 rectifier ซึ่งจะมีมุมองศาของแรงต่ำต่างกัน 20 องศา และ 24 pulse converter มี 4 rectifier ซึ่งจะมีมุมองศาของแรงต่ำต่างกัน 15 องศา พบว่ามุมองศาของแรงต่ำต่างกันน้อยกว่าจะช่วยลดฮาร์มอนิกได้ดีกว่า สิ่งสำคัญคือการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับระบบซึ่งสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งคือการเลือกใช้หม้อแปลงให้สามารถใช้กับโหลดชนิดนี้ได้

Conventional 12-pulse system

      โดยทั่วไปหม้อแปลง 2 vector group เช่น Dd0yn11 Dd0yn1 องศาแรงต่ำ shift กับแรงสูงมุมจะลงตัวตามเข็มนาฬิกา แต่สำหรับหม้อแปลง phase shift องศาแรงต่ำ shift กับแรงสูงจะไม่ลงตัวตามเข็มนาฬิกาเช่น Dd(-15°)y(+15°) Dd(+7.)y(-22.) โดย หม้อแปลงทั้งสองชนิดที่กล่าวข้างต้น เป็นหม้อแปลง 12pulse transformer ซึ่งขึ้นอยู่กับโหลดที่ติดตั้งว่าจะใช้กับหม้อแปลงแบบใด

ตัวอย่าง Vector diagram ของหม้อแปลง phase shift

ตัวอย่าง nameplate ของหม้อแปลง Phase-Shift