การทดสอบคุณภาพ
หม้อแปลงไฟฟ้าที่ผลิตเสร็จแล้วนั้น จะทำการทดสอบขั้นพื้นฐานตามมาตรฐานกำหนด คือ การทดสอบ Routine Test ตามรายการต่อไปนี้
♥ Measurement of Winding Resistance
เป็นการวัดความต้านทานของขดลวดแต่ละขด เพื่อเปรียบเทียบค่าที่วัดได้ระหว่างเฟสว่ามีขดลวดใดผิดปกติหรือไม่ และเพื่อเอาค่าที่วัดได้มาอ้างอิงกับอุณหภูมิปัจจุบันสำหรับการแปลงค่าอ้างอิงไปที่อุณหภูมิอื่น เช่น 75ºC
♥ Measurement of Voltage Ratio and Phase Displacement
เป็นการวัดอัตราส่วนของแรงดันของหม้อแปลง เปรียบเทียบกับค่าที่กำหนดว่ามีค่าถูกต้อง มีค่าความคาดเคลื่อนอยู่ในพิกัดมาตรฐานหรือไม่ และเป็นการวัดค่าความต่างเฟสของขดลวดทั้งสองด้าน หรือที่เรียกว่า การหา Vector Group ของหม้อแปลง
♥ Measurement of Short-Circuit Impedance and Load Loss
เป็นการวัดหาค่าความสูญเสียขณะจ่ายโหลด หรือ Copper Loss และ วัดหา Impedance Voltage ด้วยวิธีการลัดวงจรหม้อแปลงระหว่างการตรวจวัด
♥ Measurement of No-Load Loss and Current
เป็นการวัดหาค่าความสูญเสียขณะที่ไม่ได้จ่ายโหลด หรือความสูญเสียในแกนเหล็ก (Core Loss) และวัดหาค่ากระแสที่ไหลในขดลวด ขณะที่ไม่ได้จ่ายโหลด หรือ No-Load Current
เป็นการตรวจสอบฉนวนภายใจหม้อแปลงที่คั่นอยู่ระหว่างขดลวดแรงสูงกับแรงต่ำ แรงสูงกับGround แรงต่ำกับGround ด้วยการจ่ายแรงดันสูงกระแสสลับ 50 Hz ระหว่างจุดที่จะทดสอบตามค่าและเวลาที่มาตรฐานกำหนด
♥ Induced AC Voltage Test
เป็นการตรวจสอบฉนวนของเส้นลวดแต่ละเส้นที่พันเป็นขดลวด ด้วยการจ่ายแรงดันสูงเป็นสองเท่าให้กับชุดขดลวดตามระยะเวลาที่มาตรฐานกำหนด
♥ Measurement of Insulation Resistance
เป็นการตรวจวัดค่าความเป็นฉนวนโดยรวมของหม้อแปลง หรือที่เรียกว่า Megger Test โดยค่าวัดได้ต้องมีค่าสูงสุดตามที่กำหนด
นอกจากการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้าตามรายการพื้นฐานข้างต้นแล้ว ยังมีการทดสอบอื่นๆ เช่น การทดสอบ Type Test การทดสอบแบบพิเศษ หรือ Special Test ที่ทางบริษัทฯ จะต้องทดสอบสำหรับหม้อแปลงต้นแบบ หรือทดสอบตามข้อตกลงกับลูกค้า รวมทั้งการทดสอบอื่นๆ ได้แก่
”>>
เป็นการทดสอบเพื่อวัดค่าอุณหภูมิขณะที่หม้อแปลงรับภาระสูงสุดว่ามีค่าไม่สูงเกินกว่ามาตรฐาน หรือที่ตกลงกัน หากไม่ผ่านการทดสอบนี้ แสดงว่าหม้อแปลงไฟฟ้านั้นมีขนาดพิกัดไม่ตรงกับที่ตกลงหรือไม่เต็ม KVA
”>>
เป็นการทดสอบเพื่อวัดค่าการสูญเสียในฉนวน หรือ Dielectric Loss โดยผลที่วัดได้จะเป็นค่าอัตราส่วนระหว่างกำลังงานที่สูญเสียไปในฉนวน กับผลคูณของแรงดันและกระแสที่จ่ายให้กับชิ้นงานหรือหม้อแปลงนั้น จุดประสงค์เพื่อหาการเสื่อมสภาพของฉนวนหม้อแปลงไฟฟ้า
”>>
”>>
เป็นการทดสอบความคงทนของฉนวนต่อแรงดันฟ้าผ่าตามที่มาตรฐานกำหนด
”>>
เป็นการทดสอบหาจุดรั่วซึมของตัวถังเมื่อเกิดความดันเพิ่มขึ้น
”>>
”>>
เป็นการทดสอบเพื่อวัดระดับเสียงของหม้อแปลงขณะที่จ่ายแรงดันปกติ
”>>
เป็นการทดสอบค่าความเป็นฉนวนของน้ำมันหม้อแปลง
”>>
เป็นการทดสอบวิเคราะห์หาส่วนผสมของแก๊สที่ละลายในน้ำมัน หรือ Dissolve Gas Analysis (DGA)
ในขบวนการผลิตก่อนจะมาเป็นหม้อแปลงไฟฟ้า เรายังมีการทดสอบคุณภาพในลักษณะ In-Process Test ที่ไม่มีทำในการทดสอบ Routine ได้แก่
♥ การตรวจสอบเพื่อหารอยรั่วซึมของแนวเชื่อมตัดถัง ซึ่งเป็นการทดสอบ 100%
♥ การตรวจสอบความหนาชั้นสีของตัวถังหม้อแปลงแต่ละชั้น ซึ่งเป็นการทดสอบ 100%
♥ การทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ของหม้อแปลง เช่น Thermometer, Pressure Relief Device, Buchholz Relay, Integrated Safety Detector, Pressure Gauge เป็นต้น