การรับประกัน 10 ปี
หลังจากเกิดภาวะวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศไทย ในปี 2539 ปรากฎความถดถอยทางด้านการค้า การลงทุน ประกอบกับความเสียหายอย่างที่ไม่เคยเป็นในประวัติศาสตร์ แน่นอนที่สุดตลาดการค้าของหม้อแปลงไฟฟ้าก็อยู่ในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบสูง เนื่องจากตลาดหม้อแปลงผูกไปตามทิศทางของการลงทุน
“เอกรัฐ” ซึ่งเป็นผู้ผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ ได้คาดคะเนไว้ว่า ในบรรดาผู้ผลิตหม้อแปลงไฟฟ้ารายใหญ่ รายเล็กที่มีอยู่รวมกันในขณะนั้น ประมาณ 16 บริษัท น่าจะล้มหายตายจากไปเหมือนที่เกิดขึ้นกับธุรกิจอื่นๆ แต่ปรากฏว่าเมื่อเวลาผ่านไปจำนวนผู้ผลิตแทนที่จะลดลง กลับเพิ่มมากขึ้น ทำให้ “เอกรัฐ” วิเคราะห์และทดสอบจนได้ข้อสรุปกันภายใน ดังนี้
เนื่องจากหม้อแปลงไฟฟ้า เป็นสินค้าที่ผลิตตามคำสั่งซื้อ หรือ Made to Order ผู้ผลิตสามารถออกแบบหม้อแปลงของตนเองเป็นเช่นใดก็ได้ เพื่อให้ “ต้นทุนต่ำที่สุด” จึงเกิดหม้อแปลงต้นทุนต่ำมาสู่ตลาด ทำให้เกิดการแข่งขันด้านราคากันรุนแรงมากในขณะนั้น บางบริษัทที่มีปัญหาก็แยกตัวออกมาตั้งบริษัทเอง โดยใช้กลยุทธ์ต้นทุนต่ำนี้ในการดำเนินธุรกิจให้อยู่รอด เพราะมันได้ผล เนื่องจากผู้ซื้อส่วนใหญ่ประสพปัญหาไม่ว่าจะเป็นเจ้าของกิจการ ผู้รับเหมาติดตั้ง ความต้องการหม้อแปลงราคาถูกจึงหลึกเลี่ยงไม่ได้
คำว่า “หม้อแปลงต้นทุนต่ำ” ทำได้อย่างไรนั้น “เอกรัฐ” ดีมากเพราะเรามีศูนย์บริการกว่า 10 แห่งทั่วประเทศ จึงมีงานที่ต้องรับหม้อแปลงชำรุดกลับมาซ่อมที่โรงงานเป็นจำนวนมาก หลากหลายยี่หุ้อ เราจึงพบปัญหาที่สำคัญจากการผลิตต้นทุนต่ำ ดังนี้
♥ หม้อแปลงไม่เต็ม KVA
เรื่องนี้ ผู้ซื้อรู้ได้ยากมาก เพราะการทดสอบทำได้ยาก ใช้เวลานาน และมีค่าใช้จ่ายสูง อีกอย่างผู้ซื้อโดยมากมักมีความเข้าใจว่า หม้อแปลงของตนผ่านการทดสอบจากการไฟฟ้าแล้ว จึงมีความไว้วางใจในการใช้งาน แต่ความเป็นจริง หม้อแปลงเพียงแต่ผ่านการตรวจสอบจากการไฟฟ้า โดยการวัดค่าความต้านทานฉนวนหรือที่เรียกว่า Megger และวัดค่าน้ำมันเท่านั้น การไฟฟ้าตรวจก็เพื่อเป็นหลักประกันว่าไม่มีปัญหาต่อระบบเมื่อหม้อแปลงจ่ายไฟ และสำหรับหม้อแปลงขนาดเล็กๆ ทางการไฟฟ้าจะทำการทดสอบแบบ Routine ให้ แต่ไม่ได้เป็นหลักประกันว่า เต็ม KVA เมื่อผู้ใช้งานก็มักจะไม่ทราบถึงความผิดปกติเพราะโหลดที่ตนเองใช้นั้นน้อยกว่าขนาดหม้อแปลงที่สั่งซื้อมาก โดยปกติการสั่งซื้อหม้อแปลงมาใช้งาน มักจะออกแบบเผื่อขนาดหม้อแปลงให้มากกว่าโหลดจริงประมาณ 20% ในขณะเดียวกัน เมื่อมีการใช้งานจริง โหลดก็ไม่ได้ทำงานเต็มกำลังทุกตัว หรือที่เรียกว่า Load Factor มีค่าประมาณ 0.7-0.8 ดังนั้น ในทางปฏิบัติจริงๆ มักพบว่าผู้ใช้ไฟมักจะใช้โหลดในความเป็นจริงประมาณ 50% ถึง 60% ของขนาดหม้อแปลงที่ตอกใน Name plate เท่านั้น ผู้ซื้อที่ได้หม้อแปลงไม่เต็ม KVA จะเสียผลประโยชน์และมีปัญหากามีการเพิ่มโหลดของตนเองในอนาคต
♥ ใช้วัตถุดิบเก่าหรือวัตถุดิบคุณภาพต่ำ
หลายครั้งที่เราพบว่ามีการเอาวัตถุดิบของหม้อแปลงเก่าหรือหม้อแปลงชำรุดมาใช้ใหม่ หรือใช้วัตถุดิบคุณภาพต่ำ เรื่องนี้ผู้ซื้อยิ่งดูไม่ออกเพราะทุกอย่างอยู่ภายในตัวถังปิด มิหนำซ้ำเราเคยเจอถึงขนาดเอาหม้อแปลงเก่าทั้งใบมาขายใหม่ โดยเปลี่ยอุปกรณ์ภายนอกและทำสีใหม่ เท่านั้น
♥ ลดขนาด ลด clearance ภายในหม้อแปลง
โดยการบีบขดลวดให้เล็กลงโดยแทบไม่มีร่องน้ำมันให้ความร้อนระบายออกมาได้ บีบระยะตัวถังให้แคบลง แล้วเอาฉนวนมาคั่นบางส่งนให้พอทนแรงดันทดสอบได้ หรือแม้กระทั่งทำขดลวดให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือวงรี เพิ่มลดขนาดความยาวของเหล็กแกน ทั้งหมดข้างต้นหม้อแปลงสามารถผ่านการทดสอบ Routine ได้ แต่เมื่อใช้งานหม้อแปลงจะร้อนกว่าที่เป็นและไม่สามารถทดต่ออุบัติเหตุจากฟ้าผ่าและภาวการณ์ลัดวงจรได้เลย
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น บริษัทฯ จึงได้ริเริ่มโครงการ “การรับประกันคุณภาพหม้อแปลงไฟฟ้า 10 ปี” ในลักษณะ Long Period Guarantee จากเดิมที่ผู้ผลิตทุกรายให้การรับประกันเพียง 2 ปี “เอกรัฐ” เพิ่มให้อีก 8 ปี เป็น 10 ปี เริ่มต้นเป็นเจ้าแรกในประเทศไทย หรืออาจจะเป็นเจ้าแรกในโลกก็เป็นได้ โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นไป ทั้งนี้ เพื่อเป็นหลักประกันว่าหม้อแปลงไฟฟ้า “เอกรัฐ” เต็ม KVA และมีความทนทานต่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาการใช้งานอันยาวนาน
ในขณะเดียวกัน หม้อแปลงไฟฟ้าซึ่งเป็นเครื่องจักรชนิดหนึ่งที่ต้องบำรุงรักษาเป็นประจำด้วยความถูกต้อง เช่นเดียวกับการบำรุงรักษารถยนต์ที่เราคุ้นเคย ดังนั้น ในระหว่างการรับประกันคุณภาพ 10 ปี หม้อแปลงจำเป็ต้องมีการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ตลาดระยะเวลาดังกล่าวซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเล็กน้อยต่อปี ในการทำสัญญาบริการในระหว่างปีที่ 4 ถึงปีที่ 10